วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วารสาร19


ทักทายกัน....ประสาพี่น้อง
    พาเด็กๆไปเที่ยวตอนต้นเดือนที่สวนสัตว์โคราช ไปกันทั้งโรงเรียนตั้งแต่อนุบาล - ป.รวมทั้งครูและผู้ปกครองของนักเรียน ร่วมๆ 160 คน ใช้รถบัส 3 คัน สำหรับเด็กๆ นั้น สนุกสนานกันเต็มที่ ส่วนครูเรานั้นเหนื่อยเอาการเลยครับ แต่เป็นภาระงานที่ต้องทำ เพื่อพัฒนาเด็กๆของเรานั่นเอง
     ปิดท้ายเดือนด้วยบุญกฐินของวัดห้วยเสน ปีนี้จัดเป็นงานใหญ่ เพราะพี่น้องบ้านเราถือโอกาสทำบุญฉลองศาลาหลังใหม่ด้วย มีกิจกรรมหลายอย่างให้ร่วมบุญ โรงเรียนของเราก็พาเด็กๆ ไปศึกษาดูงาน และร่วมทำบุญอย่างมีความสุข ซึ่งบรรยากาศของงานวัดนั้นเต็มไปด้วยสีสันและความรื่นเริง ก็คงช่วยให้พี่น้องบ้านเราที่เหน็ดเหนื่อยจากการทำงานได้เติมสุขให้ชีวิตเป็นอย่างดี  นะครับ
กิจกรรม
-ประชุมผู้ปกครองนักเรียน  (6 พ.ย.55)







-ทัศนศึกษาที่ จ.นครราชสีมา  (9 พ.ย. 55)









-เกี่ยวข้าวนาโรงเรียน (20 พ.ย. 55)










-รับประเมินเตรียมความพร้อมเทอม 2  (21 พ.ย. 55)







-งานบุญกฐินฉลองศาลา วัดห้วยเสน บ้านรัฐราษฎร์พัฒนา (25-28 พ.ย. 55)









เก็บเรื่องราวมาเล่าบอก
                   ... จดหมายถึงพ่อ  ...
                                                เขียนที่ท้องทุ่งนา จ.สุรินทร์
23  พ.ย. 2555
ถึงคุณพ่อที่รักและเคารพ
     เสียงปี่ซังข้าว ที่แหบพร่า ถูกกลืนกลบด้วยความอึกทึกของเครื่องยนต์รถเกี่ยวข้าวเมดอิน Japan กลางท้องทุ่ง
อีกฟากหนึ่ง ผู้จัดการนา กำลังสั่งการผ่านโทรศัพท์เมดอิน China เพื่อเตรียมทุกอย่างให้พร้อมสำหรับการเก็บเกี่ยว โดยให้เสร็จสิ้นภายในหนึ่งวันให้จงได้ ประหนึ่งว่า ถ้าหากเลยล่วงเวลาไปกว่านั้น จักต้องโทษประหารเจ็ดชั่วอายุคน
     ทุ่งรวงทองที่เคยอวดความงามล้อลมหนาวในอดีตหมดมนต์ขลังเสียแล้วกระมัง เพราะแม้แต่ไอ้ขวัญก็ยังทิ้งขลุ่ย หันไปเล่นกีตาร์ พานังเรียมซ้อนแมงกะไซค์มาเย้ยเจ้าทุยที่เล็มหญ้าน้ำตาคลออยู่ข้างทาง..โอ  อนิจจัง.....
     จะว่าคนอื่นไปทำไมเพราะแม้แต่ผมเองก็ยังโดนพ่อขับใสออกมาจากอาชีพชาวนา โดยยกเหตุผลนานาประการมาอ้าง ก็เอาเถอะ เพราะทางที่ผมเดินมานั้นมันไกลพอดู ไกลพออย่างที่พ่อหวังไว้หรือเปล่าก็ไม่รู้  ก็ถือว่าเป็นการแสวงหาความท้าทายใหม่ในชีวิต  แต่สำหรับผม ทุกครั้งที่ตักข้าวเข้าปาก ผมคิดถึงพ่อและพี่น้องชาวนาทุกคน
     แม่เล่าให้ผมฟังว่า ในช่วงที่ผมเกิดนั้น พ่อต้องทำนาคนเดียว 30 กว่าไร่
....หนึ่งรอบปีนั้นเริ่มด้วย ใช้ควายไถนา ถอนกล้าด้วยมือ แล้วปักดำด้วยมือ จนเสร็จสิ้น กระทั่งข้าวสุก ก็เกี่ยวข้าวทีละรวง แล้วมัดเป็นฟ่อน จึงขนฟ่อนมากองไว้บนลานเพื่อทุบข้าวให้เหลือแต่เมล็ด ปิดท้ายด้วยขนใส่เกวียนขึ้นยุ้งฉาง....
คนที่สูง 168 ซม. หนัก 60 กิโลกว่าๆ ไปเอาพละกำลังมาจากไหน แต่ละวัน แต่ละเดือนรวมเป็นปีที่ผ่านไป พ่อซ่อนความสุขไว้ที่ซอกมุมไหน เพราะเห็นพ่อยิ้ม และหัวเราะให้กับพวกเราเสมอในวงข้าวมื้อเย็น     เครื่องประทินผิวประเทืองโฉมเช่นทุกวันนี้ไม่มีโอกาสได้สัมผัสผิวพ่อ แต่พ่อรู้ไหมว่าเวลาที่แม่พูดถึงพ่อ แม่เขารักและภูมิใจในตัวพ่อมาก    ต่างจากสมัยนี้ที่เครื่องทำให้งามภายนอกเกลื่อนไปทั่ว แต่ผู้คนก็ไม่เห็นจะรักกันสักเท่าไร
        พ่อครับ ทุกวันนี้มีกลุ่ม มีองค์กร เยอะไปหมด มีทุกอาชีพ จุดหมายก็ว่าก่อตั้งเพื่อเราๆ นะแหละ  แต่เอาเข้าจริงๆ ชักไม่แน่ใจ แล้วละครับ  ผมก็เลยจัดตั้งสมาคมของตัวเองขึ้นมาบ้าง ชื่อว่า  ส.ลชมก. และขอมอบรางวัลให้พ่อเป็นรายแรก
สมาคมลูกหลานชาวนาที่ไม่ลืมกำพืด (ส.ลชมก.)ขอประกาศให้โลกทราบว่า นายทองดี  พลศักดิ์เดช ผ่านการประเมินการเป็นชาวนา ในระดับยอดเยี่ยม (สมาคมนี้เพิ่งก่อตั้ง ความเชื่อถือยังไม่มาก รอบแรกนี้ประเมินให้ฟรีก่อนนะ)
ดีใจด้วยนะพ่อ ในที่สุดก็มีโอกาสได้รับรางวัลกะเขาซักที  (ฮา)………..
     พ่อจำได้ไหมวันนี้เป็นวันที่พ่อจากพวกเราไป  เมื่อเช้าผมตื่นมาใส่บาตรแล้วและคิดว่าแม่ก็คงไม่พลาดเช่นกัน  เสียใจด้วยนะพ่อ ที่ไม่มีใครสร้างอนุสาวรีย์ให้กับคนธรรมดาสามัญอย่างเรา แต่ผมได้สร้างไว้แล้วละ ที่ที่กฎหมายไปไม่ถึง  ซึ่งมันอยู่ในใจของผมงัยครับ  นัยยะแห่งการใช้ชีวิตของพ่อทำให้รู้ว่า
ความสุขสบายไม่เคยจริงใจกับใคร มีเพียงความทุกข์ยากเท่านั้นที่สร้างคนจริง
     ในเทศกาลวันพ่อนี้ ผมขอใช้สิทธิ์ของความเป็นลูก  ปวารณาตนเองเพื่อการ ทำความดี และประกอบสัมมาอาชีพอย่างเต็มกำลัง
เช่นที่พ่อทำเป็นแบบอย่างไว้  เพื่อระลึกว่าเลือดของชาวนายังคงไหลเวียนอยู่ในร่างกายของผม  นั่นเอง
                                รักพ่อเสมอและตลอดไป
                                                ลูกชาย

ขอบคุณข้อมูล :   คุณแม่ฉาย  พลศักดิ์เดช


   ...แนะนำบุคลาก....
นางสมัย   จอกทอง      ไหม





26  กุมภาพันธ์  2515
ตำแหน่ง
ครูประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ณรงค์
สถานะ     นักศึกษาฝึกประสบการณ์
               
                             ณ วันนี้   ทำดีที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น