วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

วารสารฉบับที่2

วารสารฉบับที่2

พบกันเป็นฉบับที่ 2 แล้วนะครับ   สำหรับวารสารน้องใหม่ฉบับนี้  ในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนที่ผ่านมานั้นแม้ว่านักเรียนจะได้หยุดเรียนแต่คณะครูและภารกิจของโรงเรียนก็ยังดำเนินต่อไป สำหรับบุคลากรทั้ง 11 คนของโรงเรียนรัฐราษฎร์พัฒนาได้มาเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะลุยงานในปีการศึกษาใหม่ ตั้งแต่ 10 พ.ค. เลยละครับ ทำนั่นบ้าง นี่บ้าง ลืมๆไปก็สิ้นเดือนแล้ว เลยเก็บภาพต่างๆ มาฝาก   พี่น้องเรา  เพราะเชื่อว่าทำความดีคงได้ผลดีตอบแทนสักวันละนา...  
                                
ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ
                        ปราโมทย์  พลศักดิ์เดช
การเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ต้องคำนึงถึงหลักที่สำคัญ 7 ข้อ ดังนี้
                                           1. ความต้องการหรือความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ
                                           2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมากที่สุด
                                           3. เน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง      
                                            หมายความว่าให้สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ในสภาพความเป็นจริง สามารถวิจัยเชิงปฏิบัติการ และสืบค้นหาความรู้ด้วยตนเอง
4. เป็นการพึ่งพาตนเอง เพื่อให้เกิดทักษะที่จะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน และสามารถเข้าใจวิธีการเรียนรู้ของตนได้ คือรู้วิธีคิดของตนเองและพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนวิธีคิดอย่างเหมาะสม ไม่เน้นที่การจดจำเพียงเนื้อหา
5. เน้นการประเมินตนเอง  โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองได้ชัดเจนขึ้น รู้จุดเด่นจุดด้อยและพร้อมที่จะปรับปรุงหรือพัฒนาตนเองให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การประเมินในส่วนนี้เป็นการประเมินตามสภาพจริงและใช้แฟ้มสะสมผลงานช่วย
6. เน้นความร่วมมือ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวัน
7. เน้นรูปแบบการเรียนรู้ ซึ่งอาจจัดได้ทั้งในรูปเป็นกลุ่มหรือเป็นรายบุคคล
มียุทธศาสตร์ 5 ข้อ
1. การเรียนแบบร่วมมือ เป็นวิธีการเรียน
ที่ให้นักเรียนทำงานด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กๆ
เพื่อให้เกิดผลการเรียนรู้ทั้งด้านความรู้ และทางด้านจิตใจ ช่วยให้นักเรียนเห็นคุณค่าในความแตกต่างระหว่างบุคคลของเพื่อนๆ เคารพความคิดเห็นและความสามารถของผู้อื่นที่แตกต่างจากตนตลอดจนรู้จักช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อนๆ
2. การเรียนแบบประสบการณ์ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ หรือการเรียนรู้จากการได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยผู้เรียนได้มีโอกาสรับประสบการณ์ แล้วได้รับการกระตุ้นให้สะท้อนสิ่งต่างๆ ที่ได้จากประสบการณ์ออกมาเพื่อพัฒนาทักษะใหม่ๆ และเจตคติใหม่ๆหรือวิธีการคิดใหม่ๆ

3. การเรียนแบบอภิปัญญา เป็นการเรียนที่ให้ผู้เรียนคิดโดยเป็นการคิดที่รู้ตัวว่าคิดอะไร มีวิธีคิดอย่างไร สามารถตรวจสอบความคิดของตนได้ และสามารถปรับเปลี่ยนกลวิธีการคิดของตนได้ด้วย
4. การเรียนแบบส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เป็นการเรียนโดยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ เช่น ให้ผู้เรียนระดมสมอง ให้ผู้เรียนคิดออกแบบในวิชาการงานและพื้นฐานอาชีพ ให้ผู้เรียนคิดเขียนภาพในวิชาศิลปะ เป็นต้น
5. การเรียนแบบทำโครงงาน เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเรื่องที่ตนเองสนใจ และทำเป็นโครงงาน (Project) อาจทำเป็น รายงาน ภาคนิพนธ์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ก็ได้
หวังว่าคุณครูคงจะปฏิรูปการเรียนรู้โดย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยทั่วกันนะครับ

ขอบคุณข้อมูล;  www.moobankru.com

โรงเรียนของเรา


วารสารฉบับที่1

วารสารฉบับที่1


วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

แนะนำโรงเรียน

โรงเรียนรัฐราษฎร์พัฒนา
    โรงเรียนรัฐราษฎร์พัฒนา ตั้งอยู่ ม.๖ ต.ณรงค์ อ.ศรีณรงค์ จ.สุรินทร์
ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ ในชื่อ โรงเรียนห้วยเสนโนนแดง กระทั่ง พ.ศ.๒๕๒๑
จึงเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนรัฐราษฎร์พัฒนา ตามชื่อหมู่บ้าน ที่ทาง จ.สุรินทร์
กำหนดให้เป็นบ้านตัวอย่าง หรือบ้านรัฐราษฎร์พัฒนา จนถึงปัจจุบัน
    ในปีการศึกษา ๒๕๕๔  เปิดสอนระดับอนุบาล - ประถมศึกษาปีที่ ๖ 
มีนักเรียนทั้งหมด ๑๒๔ คน มีผู้บริหาร ๑ คน มีครู ๘  คน  ช่างครุภัณฑ์ ๑ คน
ครูธุรการ ๑ คน เขตบริการ ๑ หมู่บ้าน คือ บ้านรัฐราษฎร์พัฒนา ม.๖ ต.ณรงค์ อ.ศรีณรงค์ จ.สุรินทร์
บุคลากร
นายปราโมทย์  พลศักดิ์เดช  ผู้อำนวยการโรงเรียน
นายสุบิน  บุญล้อม   ครูชำนาญการพิเศษ
นางพิกุลทอง   วงเวียน   ครูชำนาญการ
นายเสกสรรค์    วงเวียน   ครูชำนาญการ
นายสุรินทร์  ทองคำ      ครูชำนาญการ
นางศิริลักษณ์   งอกงาม   ครูชำนาญการ
น.ส.วาทศิลป์   บุญสูง      ครู ค.ศ.๑
นางสุมลเทียน   ประไวย์     ครู ค.ศ.๑
นายสฤษฎ์พงษ์   ถนัดเพิ่ม   ครู ค.ศ.๑
นายมนต์   บุทอง    ช่างครุภัณฑ์ ชั้น๓
นายอำนาจ   บุญล้อม    ครูธุรการ
นายสำราญ  ธรรมนาม   ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาฯ