วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

วารสารฉบับที่2

วารสารฉบับที่2

พบกันเป็นฉบับที่ 2 แล้วนะครับ   สำหรับวารสารน้องใหม่ฉบับนี้  ในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนที่ผ่านมานั้นแม้ว่านักเรียนจะได้หยุดเรียนแต่คณะครูและภารกิจของโรงเรียนก็ยังดำเนินต่อไป สำหรับบุคลากรทั้ง 11 คนของโรงเรียนรัฐราษฎร์พัฒนาได้มาเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะลุยงานในปีการศึกษาใหม่ ตั้งแต่ 10 พ.ค. เลยละครับ ทำนั่นบ้าง นี่บ้าง ลืมๆไปก็สิ้นเดือนแล้ว เลยเก็บภาพต่างๆ มาฝาก   พี่น้องเรา  เพราะเชื่อว่าทำความดีคงได้ผลดีตอบแทนสักวันละนา...  
                                
ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ
                        ปราโมทย์  พลศักดิ์เดช
การเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ต้องคำนึงถึงหลักที่สำคัญ 7 ข้อ ดังนี้
                                           1. ความต้องการหรือความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ
                                           2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมากที่สุด
                                           3. เน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง      
                                            หมายความว่าให้สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ในสภาพความเป็นจริง สามารถวิจัยเชิงปฏิบัติการ และสืบค้นหาความรู้ด้วยตนเอง
4. เป็นการพึ่งพาตนเอง เพื่อให้เกิดทักษะที่จะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน และสามารถเข้าใจวิธีการเรียนรู้ของตนได้ คือรู้วิธีคิดของตนเองและพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนวิธีคิดอย่างเหมาะสม ไม่เน้นที่การจดจำเพียงเนื้อหา
5. เน้นการประเมินตนเอง  โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองได้ชัดเจนขึ้น รู้จุดเด่นจุดด้อยและพร้อมที่จะปรับปรุงหรือพัฒนาตนเองให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การประเมินในส่วนนี้เป็นการประเมินตามสภาพจริงและใช้แฟ้มสะสมผลงานช่วย
6. เน้นความร่วมมือ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวัน
7. เน้นรูปแบบการเรียนรู้ ซึ่งอาจจัดได้ทั้งในรูปเป็นกลุ่มหรือเป็นรายบุคคล
มียุทธศาสตร์ 5 ข้อ
1. การเรียนแบบร่วมมือ เป็นวิธีการเรียน
ที่ให้นักเรียนทำงานด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กๆ
เพื่อให้เกิดผลการเรียนรู้ทั้งด้านความรู้ และทางด้านจิตใจ ช่วยให้นักเรียนเห็นคุณค่าในความแตกต่างระหว่างบุคคลของเพื่อนๆ เคารพความคิดเห็นและความสามารถของผู้อื่นที่แตกต่างจากตนตลอดจนรู้จักช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อนๆ
2. การเรียนแบบประสบการณ์ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ หรือการเรียนรู้จากการได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยผู้เรียนได้มีโอกาสรับประสบการณ์ แล้วได้รับการกระตุ้นให้สะท้อนสิ่งต่างๆ ที่ได้จากประสบการณ์ออกมาเพื่อพัฒนาทักษะใหม่ๆ และเจตคติใหม่ๆหรือวิธีการคิดใหม่ๆ

3. การเรียนแบบอภิปัญญา เป็นการเรียนที่ให้ผู้เรียนคิดโดยเป็นการคิดที่รู้ตัวว่าคิดอะไร มีวิธีคิดอย่างไร สามารถตรวจสอบความคิดของตนได้ และสามารถปรับเปลี่ยนกลวิธีการคิดของตนได้ด้วย
4. การเรียนแบบส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เป็นการเรียนโดยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ เช่น ให้ผู้เรียนระดมสมอง ให้ผู้เรียนคิดออกแบบในวิชาการงานและพื้นฐานอาชีพ ให้ผู้เรียนคิดเขียนภาพในวิชาศิลปะ เป็นต้น
5. การเรียนแบบทำโครงงาน เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเรื่องที่ตนเองสนใจ และทำเป็นโครงงาน (Project) อาจทำเป็น รายงาน ภาคนิพนธ์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ก็ได้
หวังว่าคุณครูคงจะปฏิรูปการเรียนรู้โดย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยทั่วกันนะครับ

ขอบคุณข้อมูล;  www.moobankru.com

โรงเรียนของเรา




ดอกไม้สวยงาม


สุดท้าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น